เครื่องวัดความหนาผิวเคลือบ Coating Thickness Gauge หรือในผู้ใช้บางกลุ่ม อาจเรียกชื่อว่า เครื่องวัดความหนาสี Paint Film Thickness gauges สำหรับวัตถุประสงค์ของเครื่องมือวัดประเภทนี้ก็เพื่อควบคุมคุณภาพความหนาของผิวเคลือบต่างๆ ที่ถูกเคลือบลงบน โลหะ ( Ferrous) หรือถูกเคลือบลงบน อโลหะ ( Non- Ferrous Metal) เครื่อง Coating Thickness Gauge ยี่ห้อ ในท้องตลาดทั่วๆไปจะถูกแบ่งแยกรุ่นตามระบบการวัดดังนี้

  1. รุ่นเครื่องวัดความหนาสี Coating thickness gauge
  2. ระบบการวัดแบบ Magnetic Induction
  3. ระบบการวัดแบบ Eddy current
  4. หน่วยการวัด เครื่องวัดความหนาสี ไมครอน Micron และ มิว Mils
  5. มาตรฐานความหนาสีรถยนต์
  6. Coating thickness gauge ยี่ห้อ Phynix 

รุ่นเครื่องวัดความหนาสี Coating thickness gauge

  1. Ferrous (รุ่น F) จะใช้หลักการวัดแบบ Magnetic Induction จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าเครื่องรุ่นแบบ Ferrous (F) จะสามารถวัดผิวเคลือบแบบ Insulating และ Non-Ferrous ที่ถูกเคลือบลงบนชิ้นงานที่เป็น Ferro-Magnetic เช่น เหล็ก, สแตนเลสที่มีคุณสมบัติความเป็นเหล็กสูง
  2. Non-Ferrous (รุ่น N) จะใช้หลักการวัดแบบ Eddy Current จากภาพด้านล่างจะเห็นว่าเครื่องรุ่นแบบ Non-Ferrous (N) จะสามารถวัดผิวเคลือบแบบ Insulating ที่ถูกเคลือบลงบนชิ้นงานที่เป็น Non-Ferrous Metal เช่น อลูมิเนียม, ทองแดง, สังกะสี และ สแตนเลสที่มีคุณสมบัติความเป็นเหล็กต่ำ
  3. Ferrous and Non-Ferrous (รุ่น FN) เครื่องรุ่นนี้จะรวมคุณสมบัติการทำงานของ Magnetic Induction และ Eddy Current เข้าไว้ในเครื่องเดียวกันโดยเครื่องจะทำงานแบบอัตโนมัติในการเลือกวิเคราะห์และตัดสินใจว่าจะใช้ระบบการทำงานแบบใดมาประมาลผลค่าความหนาผิวเคลือบ
Diagram for Coating Thickness gauges

ระบบการวัดแบบ Magnetic Induction

Magnetic Induction method  คือวีธีการหลักการทำงานในการวัดของเครื่องวัดความหนาสี (Coating thickness gauge) ตามมาตรฐาน DIN EN ISO 2178, ASTM B499, ASTM D7091 ซึ่งวีธีการทำงานแบบ Magnetic Induction จะถูกใช้กับเครื่องวัดความหนาสีแบบวัดความหนา ผิวเคลือบเป็นอโลหะ ( Non-Ferrous Coating) บนชิ้นงานที่เป็นเหล็ก (Ferro-Magnetic Substrates)

หลักการทำงาน

หัววัด Coating thickness Probes ที่มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กถูกพันด้วยขดลวด(Coil) จำนวน 2 ชุด จากนั้นขดลวดชุดแรกจะถูกจ่ายไฟที่มีความถี่ต่ำจะเกิดสนามแม่เหล็กรอบๆแท่งเหล็ก เมื่อนำแท่งเหล็กเข้าใกล้ชิ้นงานที่เป็นเหล็กจะเกิดความแรงของสนามแม่เหล็กที่เปลี่ยนไปตามระยะความห่าง ซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นกับขดลวดชุดที่ 2 หน่วยประมวลผลจะนำแรงดันที่เกิดขึ้นกับขดลวดชุดที่ 2 ไปคำนวนหาความหนาต่อไป

Magnetic-coating-thickness-gauge
ภาพแสดงการทำงานแบบ Magnetic Induction method

Learn more about Magnetic Induction

ระบบการวัดแบบ Eddy current

Eddy Current method คือหลักการทำงานในการวัดของเครื่องวัดความหนาสี (Coating thickness gauge) ตามมาตรฐาน DIN EN ISO 2360, ASTM D7091 ซึ่งวีธีการทำงานแบบ Eddy current จะถูกใช้กับเครื่องวัดความหนาสีแบบวัดความหนา ผิวเคลือบเป็นฉนวน ( Insulating Coatings) บนชิ้นงานที่เป็นอโลหะ (์Non-Ferrous Metal Substrates)

หลักการทำงาน

หัววัด Coating thickness Probes ที่มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กถูกพันด้วยขดลวด(Coil) จำนวน 1 ชุด จากนั้นขดลวดจะถูกจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับที่มีความถี่ต่ำ เมื่อขดลวดที่มีสนามไฟฟ้ากระแสสลับเข้าใกล้อโลหะ (Non-Ferrous Metal) จะทำให้เกิดกระแสไหลวน ( Eddy Current) ในอโลหะนี้ จากนั้นทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้าอีกสนามหนึ่งในทิศทางตรงกันข้ามจึงทำให้สนามแม่เหล็กลดลง การเปลี่ยนแปลงของการเหนี่ยวนำจะเปลี่ยนไปตามระยะความห่าง ซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าสลับในขดลวด หน่วยประมวลผลจะนำการเปลี่ยนแปลงนี้ ไปคำนวนหาความหนาต่อไป

Eddy-current-coating-thickness-gauge
ภาพประกอบหลักการทำงานของ Eddy current

Learn more about Eddy Current method

หน่วยการวัด เครื่องวัดความหนาสี ไมครอน Micron และ มิว Mils

หน่วยวัดความหนา ไมครอน Micron เป็นหน่วยวัดแบบ เมตริก ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุด นั้นคือหน่วย เมตร, เซนติเมตร, มิลลิเมตร และ ไมโครเมตรหรือเรียกสั้นๆว่า ไมครอน

  • 1 เมตร เท่ากับ 100 มิลลิเมตร
  • 1 มิลลิเมตร เท่ากับ 1000 ไมครอน

หน่วยวัดความหนาแบบ นิ้ว Inches เป็นหน่วยที่นิยมใช้ใน อเมริกา

  • 1 นิ้ว Inch เท่ากับ 1000 มิว mils
  • 1 มิว mils เท่ากับ 1000 microinch หรือ 25.4 ไมครอน

ตัวอย่างความหนาของวัตถุที่เห็นได้ทั่วไปเช่น

  • เส้นผมจะมีความหนาประมาณ 50 ไมครอน Micron หรือ 2 มิว Mils
  • ใยแมงมุมจะมีความหนาประมาณ 5 ไมครอน Micron หรือ 0.2 มิว Mils

มาตรฐานความหนาสีรถยนต์

Click here to select your suitable Coating Thickness gauge